เช็คให้ชัวร์ก่อนเทรดเจาะลึกฉบับอินไซด์เดอร์กับ FBS ชื่อนี้ดีจริงไหม?

หากใครเป็นคอบอลคงเห็น FB Barcelona โชว์หราอยู่บนหน้าเว็บของ FBS เป็นแน่แท้ หลายคนคงสงสัยว่าทำไมเดี๋ยวนี้การเทรด Forex ต้องทำการตลาดถึงขนาดนี้เลยเหรอ แต่ไม่ว่าจะมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร เหล่านักเทรดก็ต้องส่องค้นหาข้อมูลขั้นพื้นฐานให้มั่นใจที่สุดก่อนที่จะเริ่มลุยในการใช้บริการกับโบรกเกอร์ไม่ว่าจะเป็นเจ้าใหม่หรือเจ้าเก่าก็ตาม

FBS

ความเป็นมาและความน่าเชื่อถือกับFBS 

ถือเป็นโบรกเกอร์สัญชาติเอเชียที่ประสบความสำเร็จในระดับสากลอย่างมาก โดยในปัจจุบันมีการบริการอยู่กว่า 190 ประเทศ มีลูกค้ากว่า 16,000,000 ราย และมีพันธมิตรกว่า 410,000 ราย จุดเริ่มต้นของ FBS นับตั้งแต่ปี 2009 เพราะเป็นครั้งแรกที่ FBS ได้เข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นการก้าวกระโดดที่สำคัญเพราะทำให้ FBS นั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการมา FBS ก็พยายามสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการเป็นพันธมิตรกับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ รวมถึง FC Barcelona ที่หลายคนรู้จักกันดี ถือเป็นการทำการตลาดที่แสนแยบยลและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับ FBS เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นอกจากการตลาดแล้วต้องบอกว่า FBS ยังได้รับรางวัลจากหลากหลายสถาบันที่ทำให้เหล่านักเทรดเริ่มไว้วางใจและหันมาใช้บริการกันมากยิ่งขึ้น โดยรายชื่อของรางวัลที่ได้รับนั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกันอยู่หลายปีเลยทีเดียวเช่น

  • ปี 2019 ได้รับรางวัล Most Progressive Forex Broker Europe, Best Forex Broker Europe, Best Forex Broker Vietnam, Best Forex Broker Middle East, Best Copy Trading Platform, Best Trading Service in Vietnam, Best Broker in Malaysia
  • ปี 2018 ได้รับรางวัล Most Transparent Forex Broker,Best Forex Trading Account, Best Copy Trading Application Global, Best Forex Broker Asia

แพลตฟอร์มของ FBS สำหรับการเทรด

การออกแบบการใช้งานและการอำนวยความสะดวกสำหรับนักเทรดนั้น FBS ถือว่าทำได้ดีทีเดียว ด้วยระบบการใช้งานที่ง่ายและไม่ซับซ้อนทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง และสมัครเทรดได้ง่ายอีกด้วยไม่ว่าจะเป็นนักเทรดมือใหม่หรือนักเทรดมือโปร

  • ความง่ายของการใช้แพลตฟอร์มเว็บเทรดของทาง FBS นั้นออกแบบมาค่อนข้างดีเลยทีเดียว เพราะรูปแบบการใช้งาน ฟังก์ชั่น เมนู รวมถึงความรวดเร็วในการโหลดนั้นอยู่ในอัตราที่ดี ไม่ต้องรอนานจนหงุดหงิด ค้นหาอะไรก็เจอ หาได้ไม่ยาก แม้ว่าช่วงแรกๆ อาจจะสะดุดเล็กน้อยหากไม่เคยใช้งานมาก่อน แต่รับรองว่าพอใช้จนคุ้นเคยแล้วถือว่าใช้ได้ง่ายเลยทีดียว
  • รองรับภาษาไทยนักเทรดชาวไทยที่ไม่คุ้นกับภาษาอังกฤษก็โล่งใจได้ เพราะระบบเทรดของ FBS นั้นรองรับภาษาไทยเป็นที่เรียบร้อย แถมตอนลงทะเบียนเปิดบัญชีนั้นสามารถลิงค์ผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook หรือลิงค์เข้ากับ Google ก็ได้ จัดว่าสะดวกและย่นเวลาให้กับคนที่ไม่คุ้นเคยได้ดีทีเดียว
  • หลากหลายแพลตฟอร์มในการเทรดปัจจุบันรูปแบบการใช้งานของ FBS นั้นรองรับทั้งการเทรดบนหน้าเว็บไซต์ รวมถึงดาวน์โหลดแบบ APK ก็ได้เช่นกัน ส่วนใครที่ถนัดมือถือ FBS ก็มีบริการทั้งแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ใน Google Play และใน iOS อย่างครบครันอีกด้วย

ใบอนุญาตและการรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ 

เรื่องนี้ต้องขอย้ำอีกครั้งว่าเป็นเรื่องที่สำคัญแบบขาดไม่ได้ทุกครั้งก่อนที่จะลงมือเทรดกับโบรกเกอร์เจ้าไหนก็ตาม เพราะไม่ว่าจะได้รางวัลมากี่สถาบัน และแจกโบนัสให้เทรดฟรีมากมายขนาดไหน แต่ก็เชื่อถือไม่ได้ หากไม่ได้รับใบอนุญาตและการรับรองอย่างถูกต้อง สำหรับ FBS ก็มีการรับรองจากสถาบันต่างๆ ดังนี้

  • เว็บไซต์สำหรับเทรดดำเนินการโดย FBS Markets Inc. ทะเบียนเลขที่ 119717
  • ได้รับการควบคุมกำกับโดย IFSCใบอนุญาตหมายเลข IFSC/60/230/TS/19;ที่อยู่: 2118, Guava Street, Belize Belama Phase 1, Belize
  • ใบอนุญาตจาก Australian Securities and Investment Commission (ASIC) และ Financial Sector Conduct Authority (FSCA)

จะเห็นได้ว่าทาง FBS ได้รับการควบคุมดูแลโดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถืออย่าง IFSC (Internation Financial Services Commission) ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่คอยช่วยตรวจสอบการบริหารงานของทางโบรกเกอร์อีกทางหนึ่ง ส่วนใบอนุญาตจาก ASIC ก็ทำให้มั่นใจเพิ่มได้อีกว่า FBS นั้นถือเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และแน่นอนว่าทำให้เหล่านักเทรดอุ่นใจและมั่นใจได้ว่าการเทรดผ่าน FBS นั้นมีความปลอดภัยสูงอย่างแน่นอน 

คุณสมบัติที่น่าสนใจของการเปิดบัญชีกับFBS

มาถึงเรื่องที่หลายคนรอคอย ซึ่งก็คือ การพิจารณาว่าโบรกเกอร์ FBS นั้นดีและเหมาะกับการลงทุนของคุณหรือไม่ ซึ่งหากไม่มัวแต่มองหาการลดแลกแจกแถมโปรโมชั่นหรือโบนัสเพียงอย่างเดียว กฎเหล็ในกการพิจารณาซึ่งก็คือ เรื่องของความเสถียรและความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ อีกทั้งการให้ข้อมูลต่างๆ แก่นักลงทุนโดยมีทั้งข้อมูลวิเคราะห์ข่าวต่างๆ ของทางหน้าเว็บเทรดก็จะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจการเทรดมากยิ่งขึ้น

  • การทดลองใช้งานหากเข้าไปที่หน้าหลักของเว็บเทรด อาจจะงงอยู่ซักหน่อยว่าหน้าบัญชีทดลองหรือบัญชีเดโมนั้นเปิดให้เราสมัครหรือไม่ ซึ่งแท้จริงแล้วลูกค้าสามารถใช้บัญชีทดลองของ FBS ได้ แต่หากเทียบกับโบรกเกอร์อื่นๆ นั้นที่นี่อาจจะไม่ได้เน้นเรื่องการให้ทดลองมากนัก เพราะถ้าจะลองต้องเข้าไปที่หน้า Login เหมือนสมัครปกติเลย และอาจจะทำให้สับสนได้ว่าเป็นการสมัครจริงหรือทดลองกันแน่ แต่แนะนำว่าหลังจากลงอีเมล์เพื่อสมัครไปแล้ว หากต้องการใช้บัญชีทดลองให้เลือกตรงช่องคำว่า “สาธิต” ก็จะสามารถสมัครบัญชีทดลองหรือเดโมได้ในแบบที่ต้องการ แต่เพื่อความมั่นใจลองอ่านในหน้า Help Center ให้ละเอียดก่อนทดลองก็ได้เช่นกัน
  • การเปิดบัญชี การเปิดบัญชีของ FBS ถือว่าทำได้ไม่ยาก แต่อย่างที่บอกว่าตอนเลือกอาจจะสับสนกับบัญชีสาธิตหรือบัญชีจริง ดังนั้นพอ login เข้าระบบได้แล้ว ควรอ่านอย่างละเอียดอีกครั้ง ซึ่งการสมัครก็ใช้แค่ชื่ออีเมล์และก็ตั้งรหัสผ่านเท่านั้น จากนั้นจะมีการยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขโทรศัพท์และอีเมล์ แต่ต้องระวังนิดหนึ่งคือ ตอนเลือกประเภทของบัญชีที่ต้องการใช้ หากเลือกแล้วเหมือนจะไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ ดังนั้นหากเลือกผิดอาจจะต้องติดต่อกับทางซัพพอร์ต ซึ่งก็มี Live chat คอยช่วยเหลืออยู่เวลาใช้งาน ดังนั้นก็คงคลายความยุ่งยากลงไปได้บ้าง
  • ตัวแปรในการเทรดที่สำคัญเรื่องสำคัญที่เหล่านักลงทุนต้องคิดถึงไม่ว่าจะเป็นเช่น Leverage ทาง FBS ก็ให้ Leverage สูงสุดถึง 1:3000 นอกจากนี้ยังมีค่าสเปรดค่อนข้างต่ำหากเทียบกับโบรกเกอร์อื่นๆ
  • การฝากถอนเงิน ทาง FBS ทำออพชั่นสำหรับการฝากถอนได้ค่อนข้างดีและหลากหลาย โดยมีตัวเลือกสำหรับธนาคารไทยให้เยอะมากๆ เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังสามารถชำระได้ผ่านบัตรเดบิต บัตรเครดิตอีกด้วย ส่วนการฝากถอนขั้นต่ำคือ 1$ เท่านั้นเอง และส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่นานราวๆ 15-20 นาทีเท่านั้น ยกเว้นติดก็อาจจะเป็นภายใน 48 ชั่วโมงแทน

ประเภทบัญชีสำหรับการเทรด

ถือว่ามีหลากหลายประเภทบัญชีให้เราเลือกใช้ ใครชอบแบบไหนก็เลือกแบบนั้นได้เลย ซึ่งจัดว่าเป็นทางเลือกที่ดีให้แก่คนที่อยากลงทุนอย่างแท้จริง โดยประเภทบัญชีของ FBS ในปัจจุบันนั้นมีให้เลือกอยู่ 5 รูปแบบด้วยกันดังนี้

  • บัญชี CENT สามารถเริ่มต้นที่เงินฝากแค่ 1 $ โดยบัญชีแบบ CENT นั้นมีค่า Spread เริ่มต้นจาก 1 pipส่วนค่า Leverage สูงสุดถึง 1:1000 ไม่มีค่าคอมมิชชั่น ถือว่าเหมาะกับนักเทรดมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้น
  • บัญชี Micro เริ่มต้นที่ 5 $ เป็นแบบค่า Spread คงที่ (Fixed spread) และเริ่มที่ 3pip ส่วนค่า Leverage สูงสุดถึง 1:3000 ไม่มีค่าคอมมิชชั่น
  • บัญชี Standard เริ่มต้นที่ 100 $ เป็นค่า Spread แบบลอยตัว (Fixed spread) และเริ่มที่ 5 pip ส่วนค่า Leverage สูงสุดถึง 1:3000 ไม่มีค่าคอมมิชชั่น
  • บัญชี Zero Spread เริ่มต้นที่ 500$ เป็นค่า Spread แบบคงที่เป็น 0 ส่วนค่า Leverage สูงสุดถึง 1:3000 แต่จะมีการคิดค่าคอมมิชชั่น เริ่มต้นที่ 20 $ ซึ่งนักเทรดต้องไม่ลืมที่จะนำมาคำนวณเป็นต้นทุนในการเทรดด้วย
  • บัญชี ECN เริ่มต้นที่ 1,000$ ค่า Spread จะคิดเป็นแบบผันผวนตามอัตราราคาตลาด คิดเป็น -1 pip ค่า Leverage สูงสุดถึง 1:500 แต่ยังไงก็ตามห้ามลืมคำนวณต้นทุนที่ไปบวกอยู่ในค่าคอมมิชชั่นด้วยเสมอ โดยสำหรับ ECN นั้นคิดค่าคอมมิชชั่นที่ 6 $

ไม่ว่าจะเลือกเปิดบัญชีแบบไหน หรือเทรดแบบไหนสิ่งที่ต้องระลึกถึงเสมอคือ ต้นทุนแฝง เพราะอย่างที่เห็นกันในด้านบนถึงแม้ค่าสเปรดอาจจะต่ำ แต่ก็จะมีค่าคอมมิชชั่นแฝงอยู่ในทุกๆ การลงทุน ดังนั้นหากอยากเทรดให้ได้กำไร นักลงทุนควรจะนำต้นทุนและค่าใช้จ่ายทุกอย่างมาพิจารณาร่วมกัน และเลือกบัญชีที่เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด