นักการทูตระดับสูงของสหภาพยุโรปกำลังกังวลเรื่องการเจรจาอย่างต่อเนื่องระหว่างสหภาพยุโรปและอินโดนีเซีย ที่เกี่ยวกับข้อตกลงการค้าและการลงทุน ไม่ควรถูกขัดขวางในเรื่องของปัญหาน้ำมันปาล์ม ถึงแม้ว่ากลุ่มสหภาพยุโรปนี้มีเป้าหมายที่จะเลิกใช้น้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิงก็ตามที
โดยน้ำมันปาล์มเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ จากฐานเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีสหภาพยุโรปเป็นจุดหมายปลายทางที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ และ ณ ขณะนี้สหภาพยุโรปนำเข้าน้ำมันพืชอเนกประสงค์เป็นเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ นอกจากนี้ภายใต้คำสั่งด้านผลักดันพลังงานหมุนเวียน ทำให้คณะกรรมาธิการยุโรปตัดสินใจในปี 2019 ว่าการเพาะปลูกน้ำมันปาล์ม ส่งผลทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่ามากจนเกินไป และการใช้น้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิงในสหภาพยุโรปควรลดลงเหลือ 0 ภายในปี 2030 แต่ถึงกระนั้นเรื่องความสัมพันธ์ควรต่างออกไป น้ำมันปาล์มไม่ควรเป็นปัญหากับการติดต่อซื้อขายในเรื่องอื่น ๆ เนื่องจากอินโดนีเซียและสหภาพยุโรปกำลังเริ่มเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม (CEPA) มาตั้งแต่ปี 2016 โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายการค้า ซึ่งในปี 2020 มีมูลค่า 20.6 พันล้านยูโร (25.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และยังมีการเพิ่มการลงทุนโดยตรงอีกด้วย ซึ่งเนื่องจากข้อจำกัดของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับน้ำมันปาล์ม ทำให้เจ้าหน้าที่ของชาวอินโดนีเซียได้ออกมาขู่ว่า จะทบทวนการเจรจาการค้าอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันปาล์มอยู่ในปัจจัยที่เป็นธรรมในข้อตกลงที่วางแผนไว้
ทางสหภาพยุโรปเข้าใจดีว่าผู้คนจำนวนมากหลุดพ้นจากความยากจนด้วยน้ำมันปาล์ม แต่ถึงกระนั้นก็ต้องคำนึงถึงคำถามด้านสิ่งแวดล้อมด้วย นาย เร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศชาวอินโดนีเซีย ต้องการให้น้ำมันปาล์มได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และทางรัฐบาลเองก็มุ่งมั่นที่จะผลิตน้ำมันปาล์มด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น