เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนสำคัญสำหรับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

0
789

การดักจับคาร์บอน

ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พยายามหาทางใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อดักจับและจัดเก็บคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล หากพวกเขาต้องการบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต พบรายงานที่ตีพิมพ์โดยสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ในเดือนมิถุนายนกล่าวว่า ภูมิภาคนี้จำเป็นต้องเร่งการลงทุนโดยรวมในเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนให้เร็วขึ้น โดยเฉลี่ย 1 พันล้านดอลลาร์ต่อปีระหว่างปี 2025 – 2030 มิฉะนั้นจะมีความเสี่ยงตามเป้าหมายอุณหภูมิข้อตกลงปารีส

ในแผนงาน Net Zero ปี 2050 ระบุว่าเทคโนโลยีการดักจับ, การใช้และการจัดเก็บคาร์บอน (CCUS) จะต้องรับผิดชอบในการลดการปล่อยมลพิษสะสมมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ มีการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ แต่หลักการสำคัญคือการรวบรวมคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งที่ก่อมลพิษก่อนที่จะถึงชั้นบรรยากาศ แล้วแปลงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์หรือเก็บไว้ใต้ดินในระยะยาว เป้าหมายหลักของ CCUS คือกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่การลดการปล่อยมลพิษยังคงเป็นเรื่องยาก เช่น ในการผลิตปูนซีเมนต์, เหล็ก และเคมีภัณฑ์ ตลอดจนการผลิตไฟฟ้า ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีการดักจับจำนวนมากเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ทดลองไม่ใช่เชิงพาณิชย์ และมีราคาสูงมาก ทั่วโลกมีเพียง 21 โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ แต่ไม่มีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ 4 ประเทศ ได้แก่…อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และติมอร์-เลสเต กำลังอยู่ในรูปแบบหนึ่งของการพัฒนา  ถึงกระนั้นด้วยวิกฤตการณ์สภาพอากาศที่กำลังลุกลาม และความต้องการพลังงานในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น ได้เพิ่มความเร่งด่วนในการพยายามนำคาร์บอนออกจากการดำเนินภาคธุรกิจ โลกกำลังไล่ตามเทคโนโลยี CCUS เนื่องจากมีทางเลือกจำกัดในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยความเร็ว และขนาดที่จำเป็นเพื่อให้อยู่ในงบประมาณคาร์บอนที่มีอยู่

ถึงโครงการจะกระจุกตัวอยู่ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา แต่กิจกรรมดังกล่าวกำลังเพิ่มขึ้นในออสเตรเลีย, จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้